Saturday, 18 May 2024
กระทรวงแรงงาน

'รมว.เฮ้ง' พบปะลูกจ้างสหภาพเด็นโซ่ โชว์แผนวางรากฐาน-พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวปาฐกถาในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 44/2565 สหภาพแรงงานเด็นโซ่ ประเทศไทย โดยมี นายกิตติศักดิ์ อธิสกุลทรัพย์ ประธานสหภาพแรงงาน เด็นโซ่ ประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี และผู้นำแรงงาน ให้การต้อนรับ ณ อาคารศาลาประชาคม เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงานเพราะทุกท่านมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ทุกท่านถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนและผนึกกำลังกันเพื่อก้าวข้ามจนมาถึงวันนี้ 

ซึ่งในห้วงดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือนายจ้างและพี่น้องแรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น ในปี 2564 เปิดจุดตรวจโควิดแบบประจำจุดและตรวจเชิงรุกในโรงงาน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกจ้างเพื่อให้ภาคเอกชนยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป ผลตรวจโควิด 409,972 คน แรงงานไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จึงขอรับการสนับสนุนวัคซีนให้แก่ผู้ใช้แรงงานกว่า 11 ล้านคน และได้ฉีดวัคซีนให้แรงงานแล้ว 3,962,206 โดส โรงงานปิดตัวลงจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน กระทรวงแรงงานจัดโครงการแฟคทอรี่ แซนบ๊อก บนฐานแนวคิดเศรษฐศาสตร์และสาธารณสุข มุ่งเป้าภาคการผลิตส่งออกสำคัญ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในพื้นที่ 12 จังหวัด 730 โรงงาน แรงงานเข้าร่วม 407,770 คน ตรวจ RT- PCR พบผู้ติดเชื้อ 11,298 คน โดยทั้งหมดได้เข้าสู่กระบวนการรักษา และได้ฉีดวัคซีนให้ทุกคน 

ผลสัมฤทธิ์จากโครงการทำให้โรงงานไม่มีการปิดตัวลง ภาคการผลิตส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี  จัดหาโรงพยาบาล Hospitel ในเครือข่ายประกันสังคม รองรับผู้ป่วย 61,046 คน ลดเงินสมทบให้นายจ้างและผู้ประกันตนรวมกว่า 6 ครั้ง เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 146,448 ล้านบาท 

โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ 29 จังหวัด นายจ้าง จำนวน 192,951 ราย ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 3.75 ล้านราย รวมเป็นเงิน 32,542.27 ล้านบาท 

โครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม. 40 ม.39 จำนวน 1.37 ล้านราย ม. 40 จำนวน 7.21 ล้านราย รวมเป็นเงิน 71,214.63 ล้านบาท 

โครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงฯ ม.33 ม.39 และ ม.40 จำนวน 147,720 ราย รวมเป็นเงิน 738.60 ล้านบาท 

การให้ความช่วยเหลือ SMEs เพื่อรักษาการจ้างงานให้ยังคงอยู่ โดยรัฐบาลอุดหนุนจำนวน 235,933 แห่ง ส่งเสริมการจ้างงานใหม่ของนายจ้าง 66,201 แห่ง ลูกจ้างได้รับการจ้างงาน มากกว่า 3.2 ล้านคน รวมเงินอุดหนุน มากกว่า 27 ล้านบาท ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคสูงขึ้น ให้พี่น้องแรงงานสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยการอนุญาตให้ทำงานกว่า 174,179 คน 

นายสุชาติ ยังกล่าวถึงภารกิจที่กระทรวงแรงงานจะดำเนินการในอนาคตว่าผมยังได้วางรากฐานเพื่อความมั่นคงให้แก่พี่น้องแรงงานในอนาคต ดังนี้ 

รมว.สุชาติ จัดมหกรรมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ พลิกโฉมตลาดแรงงานไทย

วันที่ 11 มกราคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายใต้นโยบาย “สืบสาน รักษา ต่อยอด ฟื้นฟู พลิกโฉมตลาดแรงงานไทย” โดยมีนางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.) จังหวัดชลบุรี

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแรงงานไทยเป็นอย่างมาก กระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นถึงผลกระทบด้านแรงงานที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงแรงงานพบว่าอัตราการจ้างงานลดลง เนื่องจากการปรับตัวทางธุรกิจของสถานประกอบการ ซึ่งเน้นการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์และปรับตัวเป็นดิจิทัลมากขึ้น การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ ทำให้ลดการจ้างแรงงานในระบบมากขึ้น ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ที่ทำให้แรงงานในระบบ ต้องพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของตนเองให้ทันต่อธุรกิจที่เกิดใหม่ และคนจำนวนมากหันมาประกอบอาชีพเสริมหรืออาชีพอิสระเพิ่มขึ้น

ดังนั้น การยกระดับและเรียนรู้ทักษะใหม่ จึงเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงแรงงาน ที่ต้องนำแรงงานที่มีทักษะกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงาน และสร้างแรงงานนอกระบบที่เข้มแข็งขึ้นมา เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดโครงการมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้  ขึ้น เพื่อให้แรงงานไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ ตามความถนัดและตรงกับความต้องการของตนเองได้


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Eec Time Thailand
Take Me Top