Saturday, 18 May 2024
น้ำท่วม

เปิด 8 ผลกระทบ ส่งฝนกระหน่ำหนักไทยครึ่งปีหลัง 65 ภายใต้การกู้สถานการณ์เร็ว ลดสูญเสียหนัก จากรบ. 'บิ๊กตู่'

นับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ เกิดร่องมรสุม และพายุอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

ส่งผลให้ในปีนี้ประเทศไทยมีสถิติฝนตกสูงมากกว่าปกติ และในบางจังหวัดทุบสถิติฝนตกมากที่สุดในรอบ 30 ปี

ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้...

1. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย หลายพื้นที่ในภาคเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 125  มิลลิเมตร (125 ลิตรต่อตารางเมตร) ในหลายพื้นที่

2. พายุดีเพรสชัน มู่หลาน ระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดน่านตอนบนที่ รองลงมาคือเชียงรายและเชียงใหม่, กาญจนบุรี, สระแก้ว และปราจีนบุรี 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

3. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 20 – 22 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดยโสธร, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, น่าน, พังงา และระนอง รองลงมาคือจังหวัด สกลนคร, อุดรธานี, พิษณุโลก, จันทบุรี และตราด 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

4. พายุดีเพรสชัน หมาอ๊อน ระหว่างวันที่ 24 – 26 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดปราจีนบุรี, ลำปาง, พังงา และภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี และกระบี่ 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

5 ร่องมรสุมกำลังแรงพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, เลย, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ระนอง, พังงา และสุราษฎร์ธานี รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, เชียงใหม่, เชียงราย และ กำแพงเพชร

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)

6. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 6 – 11 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา, เลย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, ระนอง และพังงา

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 300 มิลลิเมตร (300 ลิตรต่อตารางเมตร)

7. พายุดีเพรสชัน โนรู ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, ระนอง, พังงา. สุราษฎร์ธานี และสตูล รองลงมาคือจังหวัดเลย, อุดรธานี, ตาก และชุมพร

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)

8. พายุดีเพรสชัน เซินก้า ระหว่างวันที่ 14 – 17 ตุลาคม

22 พฤศจิกายน พ.ศ.2531 ท่อนซุงและโคลนถล่ม ‘กะทูน’ อ.พิปูน โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ

ย้อนไปเมื่อ 34 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติ หลังฝนตกหนักพัดพาดินโคลนและท่อนซุง ถล่มหมู่บ้านในตำบลกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คร่าชีวิตหลายร้อยคน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเหตการณ์ดินโคลนและท่อนซุงที่ไหลมากับน้ำถล่มบ้านเรือนเสียหายไปกว่า 1,500 หลัง พื้นที่การเกษตรอีก 6,150 ไร่ มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน ผู้คนที่รอดชีวิตต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม และไม่สามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อีก

ก่อนเกิดเหตุการณ์ครั้งนั้นราว 3-4 วัน ได้เกิดพายุดีเพรสชั่น มีฝนตกปรอยๆ ต่อเนื่องมาหลายวัน ทำให้ดินบนภูเขาซับน้ำไว้จนชุ่มโชก และเมื่อฝนยังเพิ่มปริมาณน้ำอีกไม่หยุด ดินที่รับน้ำหนักไว้มากจนเกินกำลัง ก็ลื่นไถลลงมาตามทางลาด ทำให้ดินที่อยู่ด้านล่างต้องถล่มลงมาด้วย พร้อมต้นไม้ป่าและต้นยางพาราที่ชาวบ้านขึ้นไปปลูกไว้บนเขาถูกถอนรากถอนโคน กลายเป็นอาวุธของกระแสน้ำกวาดบ้านเรือนและชีวิตผู้คนไปกับกระแสน้ำ อีกทั้งยังมีโคลนดินตามมาถล่มทับ

นอกจากนี้ ตำบลกะทูนซึ่งภูมิประเทศเป็นแอ่งรับน้ำมีพื้นที่ 70 ตารางกิโลเมตรนี้ มีลำธารหลายสายรับน้ำจากเชิงเขาโดยรอบมารวมลงในคลองกระทูน แต่มีทางน้ำไหลออกกว้างเพียง 70 เมตรเท่านั้น เมื่อถูกต้นไม้บนเขาและไม้ในสวนที่ชาวบ้านปลูกไหลมาปิดทางน้ำออก ระดับน้ำในแอ่งกะทูนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฝังกลบทุกสิ่งทุกอย่างและทุกชีวิตไว้ใต้น้ำ


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Eec Time Thailand
Take Me Top