เผยไทม์ไลน์ปลดล็อคกัญชา

เริ่มจากร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดที่เข้าสู่รัฐสภา เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง ส.ส. และ ส.ว. ได้เสนอมาตอนนั้นในร่างมาตรา 29 มันไม่มีคำว่า "กัญชา" อยู่ตั้งแต่ร่างมาแล้ว ทั้ง ๆ ที่กัญชาประเภท 5 เป็นยาเสพติดที่ถูกให้ความสำคัญมาตลอด ใน พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ

 

ต่อมารัฐสภาได้ทำการพิจารณาร่างประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ซึ่งเสนอโดยรัฐบาล

ในมาตรา 29 ประเภท 5 มันไม่มีคำว่า ”กัญชา” อยู่ ซึ่งมีคำว่าพืชฝิ่น กับเห็ดขี้ควาย 2 อย่างเท่านั้น ซึ่งเมื่อก่อนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษปี 2522 ประเภท 5 มันมีคำว่ากัญชา ยาฝิ่น กระท่อม แล้วก็ถอดกระท่อมออกเหลือ 2 อย่าง

 

นายศุภชัย ใจสมุทร เฝ้าเกาะติด มาตรา 29 มาตลอด มีคนเสนอว่า ควรจะต้องมีคำว่ากัญชาด้วยไหม ในการประชุม นายศุภชัย ใจสมุทร เข้าร่วมประชุมด้วย บอกว่า ไม่ มันไม่มาตั้งแต่แรก นายศุภชัยเป็นรองประธาน ในเวลานั้น บอกว่าไม่ต้องมีคำว่ากัญชา นี่คือที่มาทั้งหมด

 

พฤศจิกายน 2564

 

- รัฐสภาทำการพิจารณาแล้วเสร็จ จึงมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้หลังจากนั้นอีก 30 วัน

 

8 ธันวาคม 2564

 

- จุดเริ่มต้นของการปลดล็อกกัญชา

- ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลใช้บังคับ โดยการลงมติเห็นชอบ พร้อมทั้ง ส.ส. สว. ทั้งฝ่ายค้าน ทั้งฝ่ายรัฐบาล

 

ดังนั้นกัญชาไม่ได้เป็นยาเสพติดนับตั้งแต่วันที่ 8/12/2564 จนถึงปัจจุบัน

 

มกราคม 2565

 

-คณะกรรมการ ป.ป.ส.ได้มีการจัดประชุม คือตามกฎหมายมาตรา 29 กำหนดว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบเรื่องนี้ ให้ประกาศระบุประเภทของยาเสพติดแต่ละประเภท

 

-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการ ป.ป.ส. ว่าสิ่งที่เป็นยาเสพติด คือ 1 คือ พืชฝิ่น 2 คือเห็ดขี้ควาย 3 คือสารสกัดจากกัญชา มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol – THC) เกิน 0.2 % ที่ยังเป็นยาเสพติด

 

- พรรคภูมิใจไทย ขอให้มีการประกาศบังคับใช้ โดยมีการนับไปอีก 120 วัน ก็คือวันที่ 8 มิถุนายน 2565

 

- นายศุภชัย เสนอ จะต้องมีกฎหมายพ.ร.บ. กัญชา กัญชง มาอีกฉบับหนึ่ง

 

- ที่ประชุมมอบให้พรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีฉบับร่างอยู่แล้ว นำฉบับร่างพ.ร.บของพรรคภูมิใจไทย ที่เกี่ยวกับการทำเรื่องกัญชาเสรีทางการแพทย์นั้นมายื่น เพื่อให้ทันภายใน 120 วัน โดย อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ไปยื่นต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาเองโดยตรง

 

- นายชวน หลีกภัย ประธานสภา พิจารณาบรรจุเข้ามาเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อไปได้ และนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติรับรองให้ทันทีทันใด

 

9 มิถุนายน 2565

 

- วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 25 คน และทำการพิจารณากันจนแล้วเสร็จ ผ่านไป 19 วันมีการประชุมรัฐสภาอีกครั้ง ปรากฏว่า มีการเสนอเข้าที่ประชุมแล้ว การเปิดเสรีกัญชานั้นได้ถูกตีตก จากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ก้าวไกล และพรรคประชาชาติ ไม่ยอมให้กฎหมายผ่านมติการประชุม

 

- พ.ร.บ.กัญชา กัญชง เข้าสู่วาระที่ 2 มี ส.ส.จากพรรค ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ก้าวไกล ประชาชาติ ยืนยันจะเอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด จน ณ วันนี้สภาปิด พ.ร.บ.กัญชา ก็ค้างในสภา พรรคภูมิใจไทย เดินหน้าต่อ เพื่อจะทำกัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่หาเสียง และเศรษฐกิจ จะไม่เอานันทนาการ พรรคภูมิใจไทย จะเอากัญชาทางการแพทย์เท่านั้น แต่โดนบิดเบือนจากพรรคการเมืองตรงข้ามพรรคภูมิใจไทย

 

10 มิถุนายน 2565

 

- อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการ “มหกรรมกัญชา 360 องศา ปลดล็อคกัญชา ประชาชนได้อะไร” พร้อมแจกต้นกล้ากัญชา 1 พันต้น ณ จังหวัดบุรีรัมย์

 

16 มิถุนายน 2565

 

- กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ สธ. มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิ.ย 2565 เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4, 44, 45(3), 45(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนดให้กัญชา หรือสารสกัดกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม

 

18 มิถุนายน 2565

 

- อนุทิน ชาญวีรกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย แจง ประกาศ สธ. กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม มีผลตามกฎหมายแล้ว

 

การขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กว่า ๑ ปี ในช่วงแรกเน้นให้ประชาชนเข้าถึงยากัญชาทางการแพทย์ ที่ได้มาตรฐานจากสถานพยาบาลใกล้บ้านกว่า ๓๐๐ แห่งทั่วประเทศ

 

การผลักดันนโยบายกัญชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยพรรคภูมิใจไทย จนกระทั่ง วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๒ ได้มีการเสนอร่างกฎหมาย ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แก้ไขเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติสถาบันพืชยาเสพติดแห่งประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กฎหมายปลูกกัญชาบ้านละ ๖ ต้น" เพื่อปลดล็อคกัญชาให้สามารถใช้ทางการแพทย์ได้อย่างแพร่หลาย และประชาชนสามารถปลูกได้ตาม นโยบาย ที่พรรคฯ หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง

 

นโยบายปลดล็อกกัญชานี้ ออกมาเพื่อดึงดูดประชาชนให้สนใจ สนับสนุน และเลือกพรรคภูมิใจไทยเป็นรัฐบาล และให้นายอนุทิน ชาญวีรกูลหัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะได้ทำให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านมติ นายอนุทินยังกล่าวอีกว่า กัญชามีประโยชน์ ทั้งทางด้านการแพทย์ สุขภาพของประชาชน ช่วยในการรักษาโรคมากมาย และ ยังเป็นผลดีในทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วย การคืนกัญชาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์นี้ช่วยสร้างรายได้เสริม และ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พรรคภูมิใจไทยยังย้ำว่าถ้าไม่เลือกพรรคภูมิใจไทย คนที่ปลูกหรือใช้กัญชาจะกลับไปติดคุก

 

แต่ดูเหมือนว่าเกมที่พรรคภูมิใจไทยได้คิดไว้เหมือนจะพลิก เนื่องจาก พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ก้าวไกล และพรรคประชาชาติไม่ได้ลงมติเห็นชอบกับ พ.ร.บ กัญชาดังกล่าว พ.ร.บ จึง ถูกตีตกไป น่าจะเป็นด้วยเหตุผลทางการเมือง ที่กลัวพรรคภูมิใจไทยได้คะแนนนิยมจากประชาชนมากเกินไป นี่จึงเป็นอีกทางที่พรรคการเมืองอื่นๆอาทิ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ฯลฯ ใช้เพื่อสกัด พรรคภูมิใจไทย โดยไม่ยอมรับ พ.ร.บ กัญชง กัญชา และลงมติไม่เห็นชอบ

 

ซึ่งดูขัดแย้งกับช่วงแรกที่พรรคภูมิใจไทย ได้ยื่นเสนอร่างต่อรัฐสภา ส.ส. สว. ทั้งฝ่ายค้าน ทั้งฝ่ายรัฐบาล และ นายกรัฐมนตรี ต่างมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ยอมรับ พ.ร.บ กัญชง กัญชา และ การเปิดเสรีกัญชาให้ใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย โดยที่ไม่ถูกระบุอยู่ใน ประเภทของยาเสพติด แต่เมื่อการแสวงหาผลประโยชน์ และ การเลือกตั้ง ได้เกิดขึ้น ทุกอย่างจึงพลิกผัน เพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งสิ้น