Thursday, 16 May 2024
อีอีซีไทม์

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

วันนี้ เมื่อ 37 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอเนกประสงค์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เกิดจากความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับกรมชลประทาน โดยกรมชลประทานรับผิดชอบในการสร้างเขื่อนและอาคารประกอบต่างๆ ส่วน กฟผ. รับผิดชอบโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า

‘ไทย’ รับมอบวัคซีนโควิดรุ่นใหม่จากเกาหลีใต้กว่า 5 แสนโดส เตรียมฉีดเป็นเข้มกระตุ้น จนท.ด่านหน้า ปลายเดือน ก.พ.นี้

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนไฟเซอร์ bivalent จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 65 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เกาหลี เตรียมจัดสรรให้ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร สิ้นเดือน ก.พ. นี้ ใช้ฉีดเป็นเข็มกระตุ้นในเจ้าหน้าที่ด่านหน้า อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่ม 608  ที่เสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรง

เมื่อวานนี้ (20 ก.พ.66) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนโควิด-19 รุ่นใหม่ ไฟเซอร์ bivalent จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี โดยมี นาย มุน ซึงฮยอน (Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย นาย จอน โจยอง (Jeon Joyoung) อัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย และคณะ เป็นผู้แทนส่งมอบ นายอนุทิน กล่าวว่า ในนามรัฐบาลไทย และกระทรวงสาธารณสุข ขอขอบคุณรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีที่มีความปรารถนาดีให้กับประเทศไทยเสมอมา รวมทั้งความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการแก้ไขสถานการณ์โรคโควิด-19

โดยสาธารณรัฐเกาหลีเคยสนับสนุนวัคซีนแอสตราเซนเนก้าให้กับไทยเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2564 จำนวน 470,000 โดส ช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตให้กับคนไทยและคนเกาหลีที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี สำหรับวัคซีนที่สนับสนุนเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ เป็นวัคซีนรุ่นใหม่ของไฟเซอร์ ชนิด bivalent ซึ่งจะเป็นล็อตแรกของประเทศไทยที่จะนำมาใช้สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเสี่ยงและประชาชน

“ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เข็ม ครอบคลุมประชากรมากกว่า 83% และฉีดเข็มกระตุ้นไปแล้ว 39% ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการต่อสู้กับภัยสุขภาพระดับโลก สำหรับการรับมอบวัคซีนในวันนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือและความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลีที่ไม่ใช่เพียง 65 ปีเท่านั้น แต่จะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดไป” นายอนุทินกล่าว

นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ตามมติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และผลการศึกษาในช่วงปลายปี 2565 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลก มีข้อแนะนำให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ bivalent เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็มขึ้นไป ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อแบบมีอาการได้ประมาณ 28-56% ความปลอดภัยไม่ต่างกับวัคซีนรุ่นแรกชนิด monovalent สามารถใช้ทั้งชนิด monovalent และ bivalent มาเป็นเข็มกระตุ้นได้ เนื่องจากผลในการป้องกันโรคไม่แตกต่างกัน โดยกรมควบคุมโรคจะจัดสรรวัคซีนให้ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ตามสัดส่วนของประชากรแต่ละจังหวัดอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม รวมทั้งจัดสรรให้กับเครือข่ายกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ (Uhosnet) กรมการแพทย์ และสภากาชาดไทย คาดว่าจะมีการจัดส่งวัคซีนประมาณสิ้นเดือน กุมภาพันธ์นี้

สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ bivalent เข็มกระตุ้น ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มเสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรง (กลุ่ม 608) รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง เช่น สัมผัสกลุ่มเสี่ยง สัมผัสนักท่องเที่ยว เป็นต้น โดยต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม จะฉีดเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 3 เดือน และเข็มที่ 4 ห่างจากเข็มที่ 3 อย่างน้อย 4 เดือน ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วและเคยติดเชื้อ จะฉีดหลังติดเชื้ออย่างน้อย 6 เดือน

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ด้วยเหตุผลหลัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council-NPKC) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ  ร่วมด้วย พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ 

โดยคณะ รสช. ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี โดยในแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องคำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเสมือนข้ออ้างในรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไว้ 5 ประการ ได้แก่

25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในไทย

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ 'พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน' เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม

พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า '4 พีเจ' (HS 4 PJ) ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า 'หนึ่ง หนึ่ง พีเจ' (HS 11 PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า 'พีเจ' ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า 'บุรฉัตรไชยากร' อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลสั่งยึดทรัพย์ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ รวมมูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท

วันนี้ เมื่อ 13 ปีก่อน ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท

องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ, ป.ป.ช., คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้

2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้

2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา

2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ในพิธี วางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ก้มกราบแผ่นดิน หลังลี้ภัยในต่างแดน 1 ปี 5 เดือน

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากต้องลี้ภัยในต่างแดนเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน จากเหตุรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ได้มีภาพของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏและเป็นข่าวโด่งดังซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก กับกรณีการ ก้มกราบแผ่นดิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

หลังจากที่ นายทักษิณ ต้องออกจากประเทศไทยและลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษนานถึง 1 ปี 5 เดือน เนื่องจากถูกปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อปี 2549

เหตุการณ์ในวันนั้น เมื่อนายทักษิณ เดินทางมาถึง ได้อยู่ภายในห้องวีไอพีกับครอบครัว ซึ่งเป็นห้องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมไว้ให้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา รวมถึงทำกระบวนการต่างๆ ตรวจพาสปอร์ต จากนั้นได้เดินออกจากอาคารสนามบินสุวรรณภูมิทักทายอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรี และ ส.ส. ที่มายืนรอต้อนรับ

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา

วันนี้ เมื่อ 133 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

เมื่อ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในเครื่องราชบรรณาการนั้นมีรถไฟเล็กจำลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ำของจริงที่ใช้ในเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นยังอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงและยังมีจำนวนประชากรน้อยอยู่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางดอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถๆฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมาเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาได้แล้วเสร็จบางส่วน ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระอัครราชเทวี ไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร พระองค์ทรงตอกหมุดตรึงรางรถไฟกับไม้หมอนและเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติเพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

 

โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เสนอเรื่อง ผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย เพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ไปยังยูเนสโกภายในเดือนมีนาคม 2566 นี้ เป็นไปตามเอกสารแนวทางการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Operational Directives for the implementation of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage)

 

หัวข้อที่ 1.15 กำหนดให้รัฐภาคียื่นเสนอรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จำเป็นต้องดำเนินการภายในเดือนมีนาคมของทุกปี รวมไปถึง ครม.ได้เห็นชอบในเอกสารนำของผ้าขาวม้า และเห็นชอบให้อธิบดี สวธ. ในฐานุเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการผ้าขาวม้า เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 2003) ของยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2559

 

โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2565 ไทยได้เสนอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติเพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวนทั้งสิ้น 5 รายการ คือ โขน (พ.ศ. 2561) นวดไทย (พ.ศ. 2562) โนรา (พ.ศ. 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (จะพิจารณาในปี 2566) และต้มยำกุ้ง (จะพิจารณาในปี 2568)

 

โดยเบื้องต้น รายการ โขน นวดไทย และ โนรา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโกแล้ว คาดว่ารายการสงกรานต์ในประเทศไทย จะได้รับการประกาศในปี 2566 ต้มยำกุ้ง คาดว่าจะได้รับการประกาศปี 2568 จากนั้นคาดว่าผ้าขาวม้า จะได้รับการพิจารณาและประกาศปี 2570

 

ทั้งนี้ ผ้าขาวม้า เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ทอโดยใช้เทคนิคที่เรียบง่าย มักทอเป็นลายตารางหรือลายแถบที่มีสีสัน มีการย้อมสีและสามารถทอใช้ได้เองในครัวเรือน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และคนหนุ่มสาว

 

อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้อย่างหลากหลาย มีการใช้งานสารพัดประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวัน และในประเพณีพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของชีวิต ตลอดจนเป็นของกำนัล แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไทย มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สืบทอดมาอย่างยาวนานโดยส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในครอบครัว ในโรงเรียน ในศูนย์ทอผ้าของชุมชนในท้องถิ่นและมีการพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

ดังนั้น ผ้าขาวม้า มีความสอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามนิยามในอนุสัญญาฯ ใน 3 ลักษณะ กล่าวคือ

1) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมงานเทศกาล

2) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และ

3) งานช่างฝีมือดั้งเดิม และสอดคล้องกับเกณฑ์ประเภทรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ของยูเนสโก

 

โครงสร้างองค์กรและการพัฒนาประเทศ ยุทศาสตร์จังหวัดจันทบุรี

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และ นักศึกษาหลักสูตรหลักประจำวิทยาลัยกองทัพบก (วทบ). ชุดที่ 68 ศึกษาสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และดูงานในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

 

โดยบรรยายสรุปถึงข้อมูลทั่วไป โครงสร้างองค์กรและการพัฒนาประเทศ ยุทศาสตร์จังหวัดจันทบุรีและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหาสำคัญในพื้นที่ แผนงานโครงการที่จะดำเนินการในอนาคต และสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา

 

ซึ่งผู้ว่าฯ ราชการจังหวัดจันทบุรีกล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี มีการบริหารงานแบบบูรณาการมีกลไกการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรประครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้กลไกคณะกรรมการด้านต่าง ๆ อาทิ กรอ. กบจ.จังหวัดจันทบุรี และกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว

 

โดยกำหนดเป้าหมาการพัฒนาจังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจการเกษตร อัญมณี การค้าชายแดน และการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างสรรค์และสังคมที่ดี

 


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Eec Time Thailand
Take Me Top