Monday, 29 April 2024
อีอีซีไทม์

เมนู Plant-based ยอดนิยมของร้าน alt.Eatery

เมนู Plant-based ยอดนิยมของร้าน alt.Eatery ทั้งโดนัท ผัดไทย ไก่ป๊อป เกี๊ยวซ่า ที่คุณต้องลอง แวะมาชิมที่ร้านได้ หรือจะมาเลือกซื้อสินค้า Plant-based มากกว่า 500 ชนิดก็ได้เช่นกัน 
 

'รมว.เฮ้ง' พบปะลูกจ้างสหภาพเด็นโซ่ โชว์แผนวางรากฐาน-พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวปาฐกถาในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 44/2565 สหภาพแรงงานเด็นโซ่ ประเทศไทย โดยมี นายกิตติศักดิ์ อธิสกุลทรัพย์ ประธานสหภาพแรงงาน เด็นโซ่ ประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี และผู้นำแรงงาน ให้การต้อนรับ ณ อาคารศาลาประชาคม เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงานเพราะทุกท่านมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ทุกท่านถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนและผนึกกำลังกันเพื่อก้าวข้ามจนมาถึงวันนี้ 

ซึ่งในห้วงดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือนายจ้างและพี่น้องแรงงานในหลาย ๆ ด้าน เช่น ในปี 2564 เปิดจุดตรวจโควิดแบบประจำจุดและตรวจเชิงรุกในโรงงาน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกจ้างเพื่อให้ภาคเอกชนยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป ผลตรวจโควิด 409,972 คน แรงงานไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จึงขอรับการสนับสนุนวัคซีนให้แก่ผู้ใช้แรงงานกว่า 11 ล้านคน และได้ฉีดวัคซีนให้แรงงานแล้ว 3,962,206 โดส โรงงานปิดตัวลงจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน กระทรวงแรงงานจัดโครงการแฟคทอรี่ แซนบ๊อก บนฐานแนวคิดเศรษฐศาสตร์และสาธารณสุข มุ่งเป้าภาคการผลิตส่งออกสำคัญ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในพื้นที่ 12 จังหวัด 730 โรงงาน แรงงานเข้าร่วม 407,770 คน ตรวจ RT- PCR พบผู้ติดเชื้อ 11,298 คน โดยทั้งหมดได้เข้าสู่กระบวนการรักษา และได้ฉีดวัคซีนให้ทุกคน 

ผลสัมฤทธิ์จากโครงการทำให้โรงงานไม่มีการปิดตัวลง ภาคการผลิตส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี  จัดหาโรงพยาบาล Hospitel ในเครือข่ายประกันสังคม รองรับผู้ป่วย 61,046 คน ลดเงินสมทบให้นายจ้างและผู้ประกันตนรวมกว่า 6 ครั้ง เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 146,448 ล้านบาท 

โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ในพื้นที่ 29 จังหวัด นายจ้าง จำนวน 192,951 ราย ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 3.75 ล้านราย รวมเป็นเงิน 32,542.27 ล้านบาท 

โครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม. 40 ม.39 จำนวน 1.37 ล้านราย ม. 40 จำนวน 7.21 ล้านราย รวมเป็นเงิน 71,214.63 ล้านบาท 

โครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงฯ ม.33 ม.39 และ ม.40 จำนวน 147,720 ราย รวมเป็นเงิน 738.60 ล้านบาท 

การให้ความช่วยเหลือ SMEs เพื่อรักษาการจ้างงานให้ยังคงอยู่ โดยรัฐบาลอุดหนุนจำนวน 235,933 แห่ง ส่งเสริมการจ้างงานใหม่ของนายจ้าง 66,201 แห่ง ลูกจ้างได้รับการจ้างงาน มากกว่า 3.2 ล้านคน รวมเงินอุดหนุน มากกว่า 27 ล้านบาท ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคสูงขึ้น ให้พี่น้องแรงงานสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยการอนุญาตให้ทำงานกว่า 174,179 คน 

นายสุชาติ ยังกล่าวถึงภารกิจที่กระทรวงแรงงานจะดำเนินการในอนาคตว่าผมยังได้วางรากฐานเพื่อความมั่นคงให้แก่พี่น้องแรงงานในอนาคต ดังนี้ 

จันทบุรีจัดพิธีวันคล้ายวันชนะศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมาคมอนุรักษ์อู่ต่อเรือบ้านเสม็ดงาม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และชาวบ้านเสม็ดงาม ประกอบพิธีวันคล้ายวันชนะศึกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งที่ 29 น้อมระลึกพระมหาวีรกรรมในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย

วันนี้ ( 7 พ.ย. 65 ) ที่อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บ้านเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี สมาคมอนุรักษ์อู่ต่อเรือบ้านเสม็ดงาม ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และชาวบ้านเสม็ดงาม ประกอบพิธีวันคล้ายวันชนะศึกของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นการน้อมระลึกถึงพระมหาวีรกรรมในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย โดยมี นายมนต์สิทธิ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการนำหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรภาคเอกชน ประชาชน ร่วมวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะต่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สำหรับการจัดงานดังกล่าวก็เพื่อเป็นการสดุดีวีรกรรมในวันคล้ายวันชนะศึกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยชาวไทยทุกคน ต่างน้อมระลึกถึงมหาวีรกรรมและแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าบรรพบุรุษของประเทศไทย จำนวน 5,000 คน ที่ได้ยาตราทัพจากเมืองจันทบุรีเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นของพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพของพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการกอบกู้เอกราชของชาติไทยสำเร็จเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2310

สดร.เผยจันทรุปราคาเต็มดวงคืนวันลอยกระทง เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือ ช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก คนไทยสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘ราหูอมจันทร์’

เงาของโลกที่ทอดไปในอวกาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “เงามัว (Penumbra Shadow)” เป็นเงาส่วนนอกสุด เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะมีความสว่างลดลงเล็กน้อย และ “เงามืด (Umbra Shadow)” เป็นเงาที่มืดสนิท เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะทำให้เกิดส่วนมืดเว้าแหว่ง จึงแบ่งประเภทของปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ดังนี้
 

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 หรือวันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 

โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
 

ปตท. ผนึก ไออาร์พีซี ร่วมพัฒนา 4 กลุ่มธุรกิจ เสริมแกร่งธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าพลังงาน

ปตท. ผนึก ไออาร์พีซี ดันการลงทุนและพัฒนาธุรกิจ Advanced Business Integration มุ่งเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจใหม่

เมื่อวันที่ (7 พ.ย. 65) นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ยืนกลาง) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อศึกษาการลงทุนตามกลยุทธ์ Advanced Business Integration (ABI) ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยนายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากซ้าย) และนายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) พร้อมด้วย นายจตุรงค์ วรวิทย์สุรวัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ซ้าย) และนายสมเกียรติ เลิศฤทธิ์ภูวดล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ขวา) ร่วมเป็นสักขีพยาน

อิ่มกว่าเดิม ครม.ปรับเพิ่มค่าอาหาร นักเรียนเฉลี่ยเป็น 24 บ./คน/วัน โดยใช้วงเงินงบกลาง

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (8 พ.ย.) เห็นชอบการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนระดับชั้นเด็กเล็ก ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน โดยใช้วงเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน ปีงบประมาณ 2566 วงเงิน 3,533 ล้านบาท พร้อมอนุมัติหลักการค่าอาหารกลางวันของเด็ก ปีงบประมาณ 2567 ไว้แล้ว

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 วันทลาย ‘กำแพงเบอร์ลิน’ สัญลักษณ์แห่งการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น

วันนี้ เมื่อ 33 ปีก่อน รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเยอรมันตะวันออกเริ่มทะลายกำแพงเบอร์ลิน หลังสหภาพโซเวียตใช้ปิดกั้นเป็นเวลานานถึง 28 ปี

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามถูกแบ่งประเทศออกเป็น 4 ส่วนภายใต้การควบคุมของ 4 ประเทศผู้ชนะคือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต หรือรัสเซียในปัจจุบัน
 

PTT - OR - TOYOTA - BIG ผนึกกำลังดัน Future Energy ผุดต้นแบบสถานีเติมไฮโดรเจนแห่งแรกในไทย

4 ยักษ์ใหญ่ 'PTT – OR – TOYOTA – BIG' ผนึกกำลังเสริมแกร่ง Future Energy เปิดสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของประเทศไทย จับมือเดินหน้าสู่ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด พร้อมรองรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) อนาคตใหม่ของการเดินทางเติมเต็มความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศยานยนต์แห่งอนาคต 

มอบประสบการณ์การเดินทางรูปแบบใหม่ ด้วยรถยนต์ โตโยต้า มิไร (Toyota Mirai) รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) ให้บริการนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา - ชลบุรี ตอบรับแผนภาครัฐ สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

(8 พ.ย.65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) นายวิศาล ชวลิตานนท์ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) นายปาซานา กาเนซ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) และ นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) ร่วมเปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของประเทศไทย (Hydrogen Station) ณ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยการนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาเพื่อทดสอบการใช้งานในประเทศไทย ให้บริการในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารในพื้นที่พัทยา - ชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะทำการเก็บข้อมูลเชิงเทคนิคที่ได้จากการใช้งานจริง เพื่อสร้างการรับรู้และเป็นข้อมูลรองรับการขยายผลใช้งานในอนาคต

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จึงมุ่งผลักดันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ปตท. เล็งเห็นว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอย่างไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานที่มีศักยภาพ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับประเทศไทยที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และการลงทุนมูลค่าสูง ความร่วมมือของ 5 พันธมิตรชั้นนำในกลุ่มพลังงานและยานยนต์ครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งในด้านมาตรฐานระดับสากล และความปลอดภัยสูงสุดที่จะส่งมอบให้กับผู้ใช้บริการในอนาคต โดย ปตท. ได้ร่วมสนับสนุนการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบอัดบรรจุก๊าซไฮโดรเจน และข้อมูลเชิงเทคนิคที่จำเป็น ร่วมผลักดันการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตไปด้วยกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน
 


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. Eec Time Thailand
Take Me Top